เรียนรู้ภาษาไทยกับอาจารย์ฟา และทรูปลูกปัญญา.คอม

แหล่งรวมความประทับใจby ajanfa http://www.ajanfa.blogspot.com/
แหล่งรวมความรู้วิชาภาษาไทยม.2 http://www.ajanfatihah.blogspot.com/



วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

1 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร 1.4 การแต่งโคลงสี่สุภาพ

ใบความรู้
เรื่อง “การแต่งโคลงสี่สุภาพ”




โคลง คือ คำประพันธ์ซึ่งวิธีเรียงร้อยถ้อยคำเข้าคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัสโคลงมีลักษณะบังคับ ๖ อย่างได้แก่ คณะ พยางค์ สัมผัส คำเอก คำโท คำเป็นคำตาย และคำสร้อย
ในใบความรู้ประกอบนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ “โคลงสี่สุภาพ” เท่านั้น
คำ “สุภาพ” ในโคลงนั้น อาจารย์กำชัย ทองหล่อ ได้อธิบายไว้ว่า มีความหมายเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เอกโท (คือ คำธรรมดาที่ไม่กำหนดเอก
โทจะมีหรือไม่มีก็ได้)
๒. หมายถึง การบังคับคณะและสัมผัสอย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน โคลงสุภาพทั้ง ๗
ชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน ดังจะได้อธิบายต่อไป
ก่อนอื่นนักเรียนควรรู้จักลักษณะระดับของโคลง ซึ่งมีดังนี้
๑. คณะ คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับรูปแบบของคำประพันธ์แต่ละชนิด ว่าจะต้อง
ประกอบด้วยส่วนย่อยๆ อะไรบ้าง
คำที่เป็นคำย่อยของคณะ ได้แก่ บท บาท วรรค คำ
ลักษณะบังคับข้อนี้สำคัญมาก คำประพันธ์ทุกชนิดจะต้องมีคณะ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นคำประพันธ์ คณะที่เป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดรูปแบบของคำประพันธ์แต่ละชนิดให้เป็นระเบียบเพื่อใช้เป็นหลักในการแต่งต่อไป
๒. พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ บางทีก็มีความหมาย เช่น เมืองไทยนี้ดี
บางทีก็ไม่มีความหมาย แต่เป็นส่วนหนึ่งของคำ เช่น ภิ ในคำ อภินิหาร ยุ ในคำยุวชน กระ ในคำ กระถาง เป็นต้น
เนื่องจากคนไทยเราแต่เดิมมีพยางค์เดียวโดยมาก ฉะนั้นในการแต่งคำประพันธ์เราถือว่าพยางค์ก็คือ คำนั่นเอง ในคำประพันธ์แต่ละชนิดมีการกำหนดพยางค์ (คำ) ไว้แน่นอน ว่าวรรคหนึ่งมีกี่พยางค์ (คำ)
ในคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งถือ ครุ ลหุ เป็นสำคัญ เรานับแต่ละพยางค์เป็น ๑ คำเสมอ เช่น สุจริต นับเป็น ๓ พยางค์ (๓ คำ) แต่ถ้าสุจริตไปอยู่ในโคลง เช่น
“สุจริต คือ เกราะบัง ศาสตร์พ้อง” เรานับเพียง ๒ คำเท่านั้น คือ ให้รวมเสียง ลหุ ๒ พยางค์ที่อยู่ใกล้กัน เป็น ๑ คำ
และในทำนองเดียวกัน ถ้าคำใดมี ๒ พยางค์ เป็นลหุพยางค์หนึ่ง เช่น กระถาง สมัคร ตลอด สะบัด ก็อนุโลมให้นับเป็น ๑ พยางค์ (คำ) ได้
จะเห็นได้ว่าในการนับพยางค์ (คำ) นั้นต้องแล้วแต่ลักษณะบังคับของร้อยกรองแต่ละประเภท ซึ่งผู้แต่งคำประพันธ์จะต้องสังเกตให้ดี
๓. สัมผัส คือ ลักษณะที่ยังบังคับให้ใช้คำคล้องจองกัน สัมผัส เป็นลักษณะที่สำคัญ
ที่สุดในคำประพันธ์ของไทย คำประพันธ์ทุกชนิดจำเป็นต้องมีสัมผัส
๔. คำเอก คำโท หมายถึง พยางค์ที่บังคับด้วย ไม้เอก และไม้โท สำหรับใช้กับ
คำประพันธ์ประเภทโคลงเท่านั้น มีข้อกำหนดดังนี้
คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีไม้เอกบังคับทั้งหมด เช่น จ่า ปี่ ขี่ ส่อ น่า คี่ และพยางค์ที่เป็นคำตายทั้งหมด จะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้ เช่น กาก บอก มาก โชค คิด รัก
คำเอกโทษ คือ คำที่ไม่เคยใช้ไม้เอกแต่เอามาแปลงใช้โดยเปลี่ยนวรรณยุกต์ เป็นเอกเพื่อให้ได้เสียงเอกตามบังคับ เช่น เสี้ยม เปลี่ยนเป็น เซี่ยม, สร้าง เปลี่ยนเป็น ซ่าง คำเช่นนี้ อนุโลมให้เป็นคำเอกได้
คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีไม้โทบังคับทั้งหมด เช่น ถ้า ป้า น้า น้อย ป้อม ยิ้ม
คำโทโทษ คือ คำที่ไม่เคยใช้ไม้โท แต่เอาแปลงใช้โดยเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็นโท เพื่อได้เสียงโทตามบังคับ เช่น เล่น เปลี่ยนเป็น เหล้น, ช่วย เปลี่ยนเป็นฉ้วย คำเช่นนี้อนุโลมให้เป็นคำโทได้
๕. คำเป็น คำตาย
คำเป็น ได้แก่ พยางค์ที่ผสมด้วยสระเสียงยาวในมาตราแม่ ก กา เช่น มา ขี่ ถือ เมีย กับพยางค์ที่ผสมด้วย สระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น ทำ ไม่ เขา และพยางค์ที่สะกดด้วยมาตราแม่ กง กน เกย เกอว เช่น สั่ง ถ่าน ล้ม ตาย เร็ว
คำตาย ได้แก่ พยางค์ที่ผสมด้วยสระเสียงสั้น ในมาตราแม่ ก กา เช่น จะ ติ และพยางค์ที่สะกดด้วยมาตราแม่ กก กด กบ เช่น ปัก นาค คิด มือ เก็บ สาป คำตายนี้ใช้แทนคำเอกในโคลงได้
๖. คำสร้อย คือ คำที่ใช้เติมลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบท เพื่อความไพเราะ
หรือเพื่อให้ครบจำนวนคำตามลักษณะบังคับ บางแห่งก็ใช้เป็นคำถาม หรือใช้ย้ำความ คำสร้อยนี้ใช้เฉพาะในโคลงและร่าย และมักจะเป็นคำเป็น เช่น แลนา พี่เอย ฤาพี่ แม่แล น้อยเฮ หนึ่งรา


ตัวอย่าง : คำสร้อย
โคลง ๔
เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจัดจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อยฤาเห็น
(นิราศนรินทร์)
โคลงสี่สุภาพ
ผังภูมิ :โคลงสี่สุภาพ
ผังภูมิ :





สร้อย



ตัวอย่าง ๑
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
(ลิลิตพระลอ)
ตัวอย่าง ๒
จากมามาลิ่วล้ำ ลำ บาง
บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ
(นิราศนรินทร์)
หมายเหตุ : โคลงสองบทนี้ ถือเป็นโคลงสี่สุภาพแม่บทที่มีบังคับสัมผัสเอกโทถูกต้องตามลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพทุกอย่าง นักเรียนควรท่องจำไว้ให้ได้
กฎ :
๑. คณะ มีดังนี้
โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๔ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรณ คือ วรรคหน้ากับวรรค
หลัง วรรคหลังของทุกบาท มีวรรคละ ๕ คำ วรรคหลังของบาทที่ ๑, ๒ และ ๓ มีวรรคละ ๒ คำ ส่วนของบาทที่ ๔ มี ๔ คำ รวมโคลงสี่สุภาพ บทหนึ่งมี ๓๐ คำ
๒. สัมผัส มีดังนี้
คำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และ ๓ คำที่ ๗ ของบาท
ที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔
ถ้าจะให้โคลงที่แต่งไพเราะยิ่งขึ้น ควรมีสัมผัสใน และสัมผัสอักษรระหว่างวรรค
ด้วย กล่าวคือ ควรให้คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสอักษรกับคำหน้าของวรรคหลัง จากตัวอย่างในโคลงได้แก่ คำ “อ้าง” กับ “อัน” “ใหล” กับ “ลืม”
๓. คำเอกคำโทและคำเป็นคำตาย มีดังนี้
๑) ต้องมีคำเอก ๗ แห่ง และคำโท ๔ แห่ง ตามตำแหน่งที่เขียนไว้ในแผนผังภูมิ
๒) ตำแหน่งคำเอก และโท ในบาทที่ ๑ อาจสลับที่กันได้ คือ เอาคำเอกไปไว้ใน
คำที่ ๕ และเอาคำโทมาไว้ในคำที่ ๔ เช่น
อย่าโทษไทท้าวท่วย เทวา
อย่าโทษสถานภูผา ย่านกว้าง
อย่าโทษหมู่วงศา มิตรญาติ
โทษแต่กรรมเองสร้าง ส่งให้เป็นเอง
(โคลงโลกนิติ)
๓) คำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ และคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และ ๓ ห้าใช้คำที่มีรูป
วรรณยุกต์
๔) ห้ามใช้คำตายที่ผันด้วยวรรณยุกต์โท ในตำแหน่งโท
๕) คำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำตาย และคำที่มีรูปวรรณยุกต์ และเสียงที่นิยม
กันว่าไพเราะ คือ เสียงจัตวาไม่มีรูป หรือจะใช้เสียงสามัญก็ได้เพราะเป็นคำจบ จะต้องอ่านเอื้อนลากเสียงยาว














ใบงาน

คำชี้แจง นักเรียนลากเส้นโยงคำสัมผัสในแผนภูมิโคลงสี่สุภาพให้ถูกต้อง แล้วฝึกแต่งโคลงสี่สุภาพคนละ ๒ บท ตามความชอบและจินตนาการของนักเรียนเอง

โคลงสี่สุภาพ
ผังภูมิ :
สร้อย
 
  

สร้อย
 

   

............................... .....................
........................................... .....................
............................... .....................
........................................... .....................

............................... ......................
........................................... ......................
............................... ...................... ........................................... ......................

1 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร 1.3 การวิเคราะห์เนื้อหา

ใบงาน
เรื่อง “โคลงภาพพระราชพงศาวดาร”

คำชี้แจง นักเรียนวิเคราะห์เนื้อหาจากเรื่องที่อ่านดังนี้
- สมเด็จพระสุริโยทัยคือใคร มีบทบาทอย่างไรในการต่อสู้กับข้าศึก
- เหตุใดสมเด็จพระศรีสุริโยทัยจึงต้อง “ขับคเชนทร์เข่นค้ำ สะอึกสู้ดัสกร” และผลที่ตามมาจากเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร
- เหตุใดสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ จึงไม่ทรงสั่งประหารพันท้ายนรสิงห์ ตามกฎมนเฑียรบาล
- การที่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยินยอมรับพระราชทานอภัยโทษ มีผลดีต่อการปกครองอย่างไร
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….

1 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร 1.2 การเขียน

ใบงาน
เรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

คำชี้แจง นักเรียนอ่านบทประพันธ์เรื่อง พระสุริโยทัยขาดคอช้าง แล้วเขียนอธิบายความ โดย เรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว ลำดับเรื่องตามเนื้อความโดยใช้สำนวนภาษาของนักเรียนเอง

………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………


ใบงาน

คำชี้แจง นักเรียนอ่านบทประพันธ์เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ แล้วเขียนอธิบายความ โดย เรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว ลำดับเรื่องตามเนื้อความโดยใช้สำนวนภาษาของนักเรียนเอง
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………

1 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร 1.1 อ่านทำนองเสนาะ

เรื่อง “ การอ่านทำนองเสนาะ ”

ความหมายของ “การอ่านทำนองเสนาะ”
การอ่านทำนองเสนาะคือวิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภท โคลงฉันท์ กาพย์ กลอน ( พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๓๙๘ )
บางคนให้ความหมายว่า การอ่านทำนองเสนาะคือ การอ่านตามทำนอง ( ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว ) เพื่อให้เกิดความเสนาะ ( เสนาะ , น่าฟัง , เพราะ , วังเวงใจ )
วัตถุประสงค์ในการอ่านทำนองเสนาะ
การอ่านทำนองเสนาะเป็นการอ่านให้คนอื่นฟัง ฉะนั้นทำนองเสนาะต้องอ่านออกเสียง เสียงทำให้เกิดความรู้สึก - ทำให้เห็นความงาม - เห็นความไพเราะ - เห็นภาพพจน์ ผู้ฟังสัมผัสด้วยเสียงจึงจะเข้าถึงรสและความงามของบทร้อยกรอง ที่เรียกว่าอ่านแล้วฟังพริ้ง – เพราะเสนาะโสด การอ่านทำนองเสนาะจึงมุ่งให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรอง
ที่มาของการอ่านทำนองเสนาะ
เข้าใจว่า การอ่านทำนองเสนาะมีมานานแล้วแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เท่าที่ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พุทธศึกราช ๑๘๓๕ หลักที่หนึ่ง บรรทัดที่ ๑๘ - ๒๐ ดังความว่า “ ……….. ด้วยเสียงพาเสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเล่นเล่น ใครจักมักหัว – หัว ใครมักจักเลื้อน เลื้อน ……………..”จากข้อความดังกล่าว ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ กล่าวว่า เสียงเลื้อนเสียงขับ คือ การร้องเพลงทำนองเสนาะ
ส่วน ทองสืบ ศุภะมารค ชี้แจงว่า “ เลื้อน ” ตรงกับภาษาไทยถิ่นว่า “ เลิ่น ” หมายถึง การอ่านหนังสือเอื้อนเป็นทำนอง ซึ่งคล้ายกับที่ประเสริฐ ณ นคร อธิบายว่า เลื้อน เป็นภาษาถิ่น แปลว่า อ่านทำนองเสนาะ โดยอ้างอิง บรรจบ พันธุเมธา กล่าวว่า คำนี้เป็นภาษาถิ่นของไทย ในพม่า คือไทยในรัฐฉานหรือไทยใหญ๋นั่นเอง จากความคิดเห็นของผู้รู้ ประกอบกับหลักฐาน พ่อขุนหลามคำแหงดังกล่าว ทำให้เชื่อว่า การอ่านทำนองเสนาะของไทยมีมานานหลายร้อยปีแล้ว โดยเรียกเป็นภาษาถิ่นว่า “ เลื้อน ”
ที่มาของต้นเค้าของการอ่านทำนองเสนาะพอจะสันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีบ่อเกิดจากการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนที่มีความเกี่ยวพันกับการร้องเพลงทำนองต่าง ๆ ตลอดมา ทั้งนี้จากเหตุผลที่ว่า คนไทยมีนิสัยชอบพูดคำคล้องจองให้มีจังหวะด้วยลักษณะสัมผัสเสมอ ประกอบกับคำภาษาไทยที่มีวรรณยุกต์กำกับจึงทำให้คำมีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนเสียงดนตรี เมื่อประดิษฐ์ทำนองง่าย ๆ ใส่เข้าไปก็ทำให้สามารถสร้างบทเพลงร้องขึ้นมาได้แล้ว ดังนั้นคนไทยจึงมีโอกาสได้ฟังและชื่นชมกับการร้องเพลงทำนองต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตายทีเดียว
ศิลปะการอ่านทำนองเสนาะจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้อ่าน และความไพเราะของบทประพันธ์แต่ละประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อ่านทำนองเสนาะจึงต้องศึกษาวิธีการอ่านให้ไพเราะและต้องหมั่นฝึกฝนการอ่านจนเกิดความชำนาญ
อนึ่งศิลปะการอ่านทำนองเสนาะอยู่ที่ตัวผู้อ่านต้องรู้จัก วิธีการอ่านทอดเสียง โดยผ่อนจังหวะให้ช้าลง การเอื้อนเสียง โดยการลากเสียงช้า ๆ เพื่อให้เข้าจังหวะและให้หางเสียงให้ไพเราะ การครั่นเสียง โดยทำเสียงสะดุดสะเทือนเพื่อความไพเราะเหมาะสมกับบทกวีบางตอน การหลบเสียง โดยการหักเหให้พลิกกลับจากเสียงสูงลงมาเป็นต่ำ หรือจากเสียงต่ำขึ้นไปเป็นเสียงสูง เนื่องจากผู้อ่านไม่สามารถที่จะดำเนินตามทำนองต่อไปได้เป็นการหลบหนีจากเสียงที่เกินความสามารถ จึงต้องหักเหทำนองพลิกกลับเข้ามาดำเนินทำนองในเขตเสียงของตน และ การกระแทกเสียง โดยการอ่านกระชากเสียงให้ดังผิดปกติในโอกาสที่แสดงความโกรธหรือความไม่พอใจหรือเมื่อต้องการเน้นเสียง
( มนตรี ตราโมท ๒๕๒๗ : ๕๐ )









รสที่ใช้ในการอ่านทำนองเสนาะ
๑ รสถ้อย ( คำพูด ) แต่ละคำมีรสในคำของตนเอง ผู้อ่านจะต้องอ่านให้เกิดรสถ้อย

ตัวอย่าง
สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
( พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ )


๒ รสความ (เรื่องราวที่อ่าน) ข้อความที่อ่านมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น โศกเศร้า สนุกสนาน ตื่น เต้น โกรธ รัก เวลาอ่านต้องอ่านให้มีลีลาไปตามลักษณะของเนื้อเรื่องนั้น ๆ
ตัวอย่าง : บทโศกตอนที่นางวันทองไปส่งพลายงามให้ไปหาย่าทองประศรีที่สุพรรณบุรี
ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล
สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา
เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา
แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์ โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง
( เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม : สุนทรภู่ )

ตัวอย่าง : บทสนุกสนาน ในนิราศพระบาท ขณะมีมวยปล้ำ
ละครหยุดอุตลุดด้วยมวยปล้ำ ยืนประจำหมายสู้เป็นคู่ขัน
มงคลใส่สวมหัวไม่กลัวกัน ตั้งประจันจดจับขยับมือ
ตีเข้าปับรับโปกสองมือปิด ประจบติดเตะผางหม้อขว้างหวือ
กระหวัดหวิดหวิวผวาเสียงฮาฮือ คนดูอ้อเออกันสนั่นอึง

๓ รสทำนอง ( ระบบสูงต่ำซึ่งมีจังหวะสั้นยาว ) ในบทร้อยกรองไทยจะประกอบด้วยทำนองต่าง ๆ เช่น ทำนองโคลง ทำนองฉันท์ ทำนองกาพย์ ทำนองกลอน และทำนองร่าย เป็นต้น ผู้อ่านจะต้องอ่านให้ถูก ต้องตามทำนองของร้อยกรองนั้น เช่น โคลงสี่สุภาพ
สัตว์ พวกหนึ่งนี้ชื่อ พหุบา ทาแฮ
มี อเนกสมญา ยอกย้อน
เท้า เกิดยิ่งจัตวา ควรนับ เขานอ
มาก จวบหมื่นแสนซ้อน สุดพ้นประมาณ ฯ

๔ รสคล้องจอง ในบทร้องกรองต้องมีคำคล้องจองในคำคล้องจองนั้นต้องให้ออกเสียงต่อเนื่องกัน โดยเน้นเสียงสัมผัสนอกเป็นสำคัญ เช่น

ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดตาม ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาหล้าแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่มาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน
( นิราศภูเขาทอง : สุนทรภู่ )


๕ รสภาพ เสียงทำให้เกิดภาพ ในแต่ละคำจะแฝงไปด้วยภาพ ในการอ่านให้เห็นภาพต้องใช้เสียง สูง – ต่ำ ดัง – ค่อย แล้วแต่จะให้เกิดภาพอย่างไร เช่น
มดเอ๋ยมดแดง เล็กเล็กเรี่ยวแรงแข็งขยัน
สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา


หลักการอ่านทำนองเสนาะ มีดังนี้
๑ ก่อนอ่านทำนองเสนาะให้แบ่งคำแบ่งวรรคให้ถูกต้องตามหลักคำประพันธ์เสียก่อน โดยต้องระวังในเรื่องความหมายของคำด้วย เพราะคำบางคำอ่านแยกคำกันไม่ได้ เช่น
“ สร้อยคอขนมยุระ ยูงงาม ”
( ขน – มยุระ , ขนม – ยุระ )
“ หวนห่วงม่วงหมอนทอง อีกอกร่องรสโอชา ”
( อีก – อก – ร่อง , อี – กอ – กร่อง )
“ ดุเหว่าจับเต่าร้างร้อง เหมือนจากห้องมาหยารัศมี ”
( เหมือน – มด , เหมือน – มด – อด )
๒ อ่านออกเสียงธรรมดาให้คล่องก่อน
๓ อ่านให้ชัดเจน โดยเฉพาะออกเสียง ร ล และคำควบกล้ำให้ถูกต้อง เช่น
เกิดเป็นชายชาตรีอย่าขี้ขลาด บรรยากาศปลอดโปร่งโล่งสมอง
หยิบน้ำปลาตราสับปะรดให้ทดลอง ไหนเล่าน้องครีมนวดหน้าทาให้ที
เนื้อนั้นมีโปรตีนกินเข้าไว้ คนเคราะห์ร้ายคลุ้มคลั่งเรื่องหนังผี
ใช้น้ำคลองกรองเสียก่อนจึงจะดี เห็นมาลีคลี่บานหน้าบ้านเอย


๔ อ่านให้เอื้อสัมผัส เรียกว่า คำแปรเสียง เพื่อให้เกิดเสียงสัมผัสที่ไพเราะ
เช่นพระสมุทรสุดลึกล้น คณนา( อ่านว่า พระ – สะ – หมุด – สุด – ลึก – ล้น คน – นะ – นา )
ข้าขอเคารพอภิวาท ในพระบาทบพิตรอดิสร( อ่านว่า ข้า – ขอ – เคา – รบ – อบ – พิ – วาด ใน – พระ – บาด – บอ – พิด – อะ – ดิด – สอน ) ขอสมหวังตั้งประโยชน์โพธิญาณ ( อ่านว่า ขอ – สม – หวัง – ตั้ง – ประ – โหยด – โพด – พิ – ยาน )
๕ ระวัง ๓ ต อย่าให้ ตกหล่น อย่าต่อเติม และอย่าตู่ตัว
๖ อ่านให้ถูกจังหวะ คำประพันธ์แต่ละประเภทจะมีจังหวะแตกต่างกัน ต้องอ่านให้ถูกวรรคตอนตามแบบแผนของคำประพันธ์นั้น ๆ เช่น
มุทิงคนาฉันท์ ( ๒ - ๒ - ๓ )
“ ป๊ะโท่น / ป๊ะโทน / ป๊ะโท่นโทน บุรุษ / สิโอน / สะเอวไหว
อนงค์ / นำเคลื่อน / เขยื้อนไป สะบัด / สไป / วิไลตา ”
๗ อ่านให้ถูกทำนองของคำประพันธ์นั้น ๆ ( รสทำนอง )
๘ ผู้อ่านต้องใส่อารมณ์ตามรสความของบทประพันธ์นั้น ๆ รสรัก โศก ตื่นเต้น ขบขัน โกรธ แล้วใส่น้ำเสียงให้สอดคล้องกับรสหรืออารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น
๙ อ่านให้เสียงดัง ( พอที่จะได้ยินกันทั่วถึง ) ไม่ใช่ตะโกน
๑๐ ถ้าเป็นฉันท์ ต้องอ่านให้ถูกต้องตามบังคับของครุ - ลหุ ของฉันท์นั้น ๆ
ลหุ คือ ที่ผสมด้วยสระเสียงสั้น และไม่มีตัวสะกด เช่น เตะ บุ และ เถอะ ผัวะ ยกเว้น ก็ บ่อ นอกจาก นี้ถือเป็นคำครุ ( คะ – รุ ) ทั้งหมด
ลหุ ให้เครื่องหมาย ( ุ ) แทนในการเขียน
ครุ ใช้เครื่องหมาย ( ั ) แทนในการเขียน

ตัวอย่าง : วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ มีครุ - ลหุ ดังนี้

ัััััั ั ั ุ ั ุ ุ ุ ั ุ ุ ั ุ ั ั

ั ั ุ ั ุ ุ ุ ั ุ ุ ั ุ ั ั


อ้าเพศก็เพศนุชอนงค์ อรองค์กับอบบาง
( อ่านว่า อ้า – เพด – ก็ – เพด – นุ – ชะ – อะ – นง อะ – ระ – อง – ก้อ – บอบ – บาง )
ควรแต่ผดุงสิริสะอาง ศุภลักษณ์ประโลมใจ
( อ่านว่า ควน – แต่ – ผะ – ดุง – สิ – หริ – สะ – อาง สุ – พะ – ลัก – ประ – โลม – ใจ )
๑๑ เวลาอ่านอ่านอย่าให้เสียงขาดเป็นช่วง ๆ ต้องให้เสียงติดต่อกันตลอด เช่น
“ วันนั้นจันทร มีดารากร เป็นบริวาร เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร ”
๑๒ เวลาจบให้ทอดเสียงช้า ๆ


ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านทำนองเสนาะ
๑ ช่วยให้ผู้ฟังเข้าถึงถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
๒ ช่วยให้ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง ( อาการรู้สึกจับใจอย่างลึกซึ้ง )
๓ ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน
๔ ช่วยให้จำบทร้อยกรองได้รวดเร็วและแม่นยำ
๕ ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยนและเยือนเย็น ( ประโยชน์โดยอ้อม )
๖ ช่วยสืบทอดวัฒนธรรม ในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกต่อไป























ใบงาน
เรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร


คำชี้แจง อ่านบทประพันธ์เรื่อง พระสุริโยทัยขาดคอช้าง และพันท้ายนรสิงห์ แล้วทบทวนรายละเอียด ตามที่จับใจความได้ เช่น ใคร ทำอะไร มีความสำคัญอย่างไร
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................



ใบงาน

คำชี้แจง นักเรียนยกคำประพันธ์ที่นักเรียนเห็นว่าไพเราะและมีความหมายกินใจ พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................


แบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง
โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

คำชี้แจง ให้นักเรียน เขียนเครื่องหมายถูก หน้าข้อความที่นักเรียนคิดว่าถูกต้อง และเขียนเครื่องหมายผิด หน้าข้อที่นักเรียนคิดว่าผิด

๑. มีการถ่ายทอดเรื่องราวของวีระสตรีและวีระบุรุษไทยอย่างสมเด็จพระสุริโยทัย และ พันท้ายนรสิงห์ โดยได้รับการบันทึกไว้ในงานจิตรกรรมและวรรณกรรมมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในรูปแบบของรูปภาพพระราชพงศาวดารและโคลงภาพพระราชพงศาวดาร
๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์คำอธิบายเกี่ยวกับหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดารไว้ว่า เกิดขึ้นโดยพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓. โคลงพระสุริโยทัยขาดคอช้าแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ ๔ บท มีเนื้อหาบรรยายถึงวีรกรรมของสมเด็จพระสุริโยทัย พระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๔๖ แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๙๑ – ๒๑๑๑
๔. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับบันทึกไว้ว่า สมเด็จพระสุริโยทัยทรงแต่งพระองค์เป็นพระมหาอุปราช ทรงช้างพลายสุริยกษัตริย์ตามเสด็จสมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกไปดูกำลังข้าศึกที่ทุ่งกูเขาทอง และทรงเผชิญหน้ากับกองทัพพระเจ้าแปร
๕. พันท้ายนรสิงห์ เป็นข้าราชการในสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๑๘ (พระเจ้าเสือ) ในปี พ.ศ. ๒๒๔๗ สมเด็จพระเจ้าเสือเสด็จทางชลมารคไปทรงเบ็ดตกปลาที่ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขาม คลองช่วงนั้นคดเคี้ยวมาก เรือพระที่นั่งเอกไชย ชนกิ่งไม้ใหญ่โขนเรือหักตกลงในน้ำ
๖. พันท้ายนรสิงห์กราบทูลให้ทรงตัดศีรษะของตนตามพระราชกำหนด แม้สมเด็จพระเจ้าเสือ จะทรงพระเมตตาพระราชทานอภัยโทษ แต่พันท้ายนรสิงห์ก็ยืนยันขอรับโทษตามราชประเพณี
๗. สิ่งสำคัญที่ทำให้งานวรรณคดีแตกต่างจากบันทึกประวัติศาสตร์ก็คือความงามของภาษาอันได้แก่คำและเสียงที่ทำให้นึกเห็นภาพได้
๘. นอกจากความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวและความเสียสละเพื่อส่วนรวม คุณธรรมสำคัญประการหนึ่งของสมเด็จพระสุริโยทัย และพันท้ายนรสิงห์ที่กวีมุ่งเน้นในโคลงนี้ก็คือความกตัญญู

ขอต้อนรับสู่ห้องภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้

สลามนักเรียนที่น่ารักทุกคน