เรียนรู้ภาษาไทยกับอาจารย์ฟา และทรูปลูกปัญญา.คอม

แหล่งรวมความประทับใจby ajanfa http://www.ajanfa.blogspot.com/
แหล่งรวมความรู้วิชาภาษาไทยม.2 http://www.ajanfatihah.blogspot.com/



วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

1 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร 1.4 การแต่งโคลงสี่สุภาพ

ใบความรู้
เรื่อง “การแต่งโคลงสี่สุภาพ”




โคลง คือ คำประพันธ์ซึ่งวิธีเรียงร้อยถ้อยคำเข้าคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัสโคลงมีลักษณะบังคับ ๖ อย่างได้แก่ คณะ พยางค์ สัมผัส คำเอก คำโท คำเป็นคำตาย และคำสร้อย
ในใบความรู้ประกอบนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ “โคลงสี่สุภาพ” เท่านั้น
คำ “สุภาพ” ในโคลงนั้น อาจารย์กำชัย ทองหล่อ ได้อธิบายไว้ว่า มีความหมายเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เอกโท (คือ คำธรรมดาที่ไม่กำหนดเอก
โทจะมีหรือไม่มีก็ได้)
๒. หมายถึง การบังคับคณะและสัมผัสอย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน โคลงสุภาพทั้ง ๗
ชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน ดังจะได้อธิบายต่อไป
ก่อนอื่นนักเรียนควรรู้จักลักษณะระดับของโคลง ซึ่งมีดังนี้
๑. คณะ คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับรูปแบบของคำประพันธ์แต่ละชนิด ว่าจะต้อง
ประกอบด้วยส่วนย่อยๆ อะไรบ้าง
คำที่เป็นคำย่อยของคณะ ได้แก่ บท บาท วรรค คำ
ลักษณะบังคับข้อนี้สำคัญมาก คำประพันธ์ทุกชนิดจะต้องมีคณะ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นคำประพันธ์ คณะที่เป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดรูปแบบของคำประพันธ์แต่ละชนิดให้เป็นระเบียบเพื่อใช้เป็นหลักในการแต่งต่อไป
๒. พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ บางทีก็มีความหมาย เช่น เมืองไทยนี้ดี
บางทีก็ไม่มีความหมาย แต่เป็นส่วนหนึ่งของคำ เช่น ภิ ในคำ อภินิหาร ยุ ในคำยุวชน กระ ในคำ กระถาง เป็นต้น
เนื่องจากคนไทยเราแต่เดิมมีพยางค์เดียวโดยมาก ฉะนั้นในการแต่งคำประพันธ์เราถือว่าพยางค์ก็คือ คำนั่นเอง ในคำประพันธ์แต่ละชนิดมีการกำหนดพยางค์ (คำ) ไว้แน่นอน ว่าวรรคหนึ่งมีกี่พยางค์ (คำ)
ในคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งถือ ครุ ลหุ เป็นสำคัญ เรานับแต่ละพยางค์เป็น ๑ คำเสมอ เช่น สุจริต นับเป็น ๓ พยางค์ (๓ คำ) แต่ถ้าสุจริตไปอยู่ในโคลง เช่น
“สุจริต คือ เกราะบัง ศาสตร์พ้อง” เรานับเพียง ๒ คำเท่านั้น คือ ให้รวมเสียง ลหุ ๒ พยางค์ที่อยู่ใกล้กัน เป็น ๑ คำ
และในทำนองเดียวกัน ถ้าคำใดมี ๒ พยางค์ เป็นลหุพยางค์หนึ่ง เช่น กระถาง สมัคร ตลอด สะบัด ก็อนุโลมให้นับเป็น ๑ พยางค์ (คำ) ได้
จะเห็นได้ว่าในการนับพยางค์ (คำ) นั้นต้องแล้วแต่ลักษณะบังคับของร้อยกรองแต่ละประเภท ซึ่งผู้แต่งคำประพันธ์จะต้องสังเกตให้ดี
๓. สัมผัส คือ ลักษณะที่ยังบังคับให้ใช้คำคล้องจองกัน สัมผัส เป็นลักษณะที่สำคัญ
ที่สุดในคำประพันธ์ของไทย คำประพันธ์ทุกชนิดจำเป็นต้องมีสัมผัส
๔. คำเอก คำโท หมายถึง พยางค์ที่บังคับด้วย ไม้เอก และไม้โท สำหรับใช้กับ
คำประพันธ์ประเภทโคลงเท่านั้น มีข้อกำหนดดังนี้
คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีไม้เอกบังคับทั้งหมด เช่น จ่า ปี่ ขี่ ส่อ น่า คี่ และพยางค์ที่เป็นคำตายทั้งหมด จะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้ เช่น กาก บอก มาก โชค คิด รัก
คำเอกโทษ คือ คำที่ไม่เคยใช้ไม้เอกแต่เอามาแปลงใช้โดยเปลี่ยนวรรณยุกต์ เป็นเอกเพื่อให้ได้เสียงเอกตามบังคับ เช่น เสี้ยม เปลี่ยนเป็น เซี่ยม, สร้าง เปลี่ยนเป็น ซ่าง คำเช่นนี้ อนุโลมให้เป็นคำเอกได้
คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีไม้โทบังคับทั้งหมด เช่น ถ้า ป้า น้า น้อย ป้อม ยิ้ม
คำโทโทษ คือ คำที่ไม่เคยใช้ไม้โท แต่เอาแปลงใช้โดยเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็นโท เพื่อได้เสียงโทตามบังคับ เช่น เล่น เปลี่ยนเป็น เหล้น, ช่วย เปลี่ยนเป็นฉ้วย คำเช่นนี้อนุโลมให้เป็นคำโทได้
๕. คำเป็น คำตาย
คำเป็น ได้แก่ พยางค์ที่ผสมด้วยสระเสียงยาวในมาตราแม่ ก กา เช่น มา ขี่ ถือ เมีย กับพยางค์ที่ผสมด้วย สระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น ทำ ไม่ เขา และพยางค์ที่สะกดด้วยมาตราแม่ กง กน เกย เกอว เช่น สั่ง ถ่าน ล้ม ตาย เร็ว
คำตาย ได้แก่ พยางค์ที่ผสมด้วยสระเสียงสั้น ในมาตราแม่ ก กา เช่น จะ ติ และพยางค์ที่สะกดด้วยมาตราแม่ กก กด กบ เช่น ปัก นาค คิด มือ เก็บ สาป คำตายนี้ใช้แทนคำเอกในโคลงได้
๖. คำสร้อย คือ คำที่ใช้เติมลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบท เพื่อความไพเราะ
หรือเพื่อให้ครบจำนวนคำตามลักษณะบังคับ บางแห่งก็ใช้เป็นคำถาม หรือใช้ย้ำความ คำสร้อยนี้ใช้เฉพาะในโคลงและร่าย และมักจะเป็นคำเป็น เช่น แลนา พี่เอย ฤาพี่ แม่แล น้อยเฮ หนึ่งรา


ตัวอย่าง : คำสร้อย
โคลง ๔
เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจัดจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อยฤาเห็น
(นิราศนรินทร์)
โคลงสี่สุภาพ
ผังภูมิ :โคลงสี่สุภาพ
ผังภูมิ :





สร้อย



ตัวอย่าง ๑
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
(ลิลิตพระลอ)
ตัวอย่าง ๒
จากมามาลิ่วล้ำ ลำ บาง
บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ
(นิราศนรินทร์)
หมายเหตุ : โคลงสองบทนี้ ถือเป็นโคลงสี่สุภาพแม่บทที่มีบังคับสัมผัสเอกโทถูกต้องตามลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพทุกอย่าง นักเรียนควรท่องจำไว้ให้ได้
กฎ :
๑. คณะ มีดังนี้
โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๔ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรณ คือ วรรคหน้ากับวรรค
หลัง วรรคหลังของทุกบาท มีวรรคละ ๕ คำ วรรคหลังของบาทที่ ๑, ๒ และ ๓ มีวรรคละ ๒ คำ ส่วนของบาทที่ ๔ มี ๔ คำ รวมโคลงสี่สุภาพ บทหนึ่งมี ๓๐ คำ
๒. สัมผัส มีดังนี้
คำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และ ๓ คำที่ ๗ ของบาท
ที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔
ถ้าจะให้โคลงที่แต่งไพเราะยิ่งขึ้น ควรมีสัมผัสใน และสัมผัสอักษรระหว่างวรรค
ด้วย กล่าวคือ ควรให้คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสอักษรกับคำหน้าของวรรคหลัง จากตัวอย่างในโคลงได้แก่ คำ “อ้าง” กับ “อัน” “ใหล” กับ “ลืม”
๓. คำเอกคำโทและคำเป็นคำตาย มีดังนี้
๑) ต้องมีคำเอก ๗ แห่ง และคำโท ๔ แห่ง ตามตำแหน่งที่เขียนไว้ในแผนผังภูมิ
๒) ตำแหน่งคำเอก และโท ในบาทที่ ๑ อาจสลับที่กันได้ คือ เอาคำเอกไปไว้ใน
คำที่ ๕ และเอาคำโทมาไว้ในคำที่ ๔ เช่น
อย่าโทษไทท้าวท่วย เทวา
อย่าโทษสถานภูผา ย่านกว้าง
อย่าโทษหมู่วงศา มิตรญาติ
โทษแต่กรรมเองสร้าง ส่งให้เป็นเอง
(โคลงโลกนิติ)
๓) คำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ และคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และ ๓ ห้าใช้คำที่มีรูป
วรรณยุกต์
๔) ห้ามใช้คำตายที่ผันด้วยวรรณยุกต์โท ในตำแหน่งโท
๕) คำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำตาย และคำที่มีรูปวรรณยุกต์ และเสียงที่นิยม
กันว่าไพเราะ คือ เสียงจัตวาไม่มีรูป หรือจะใช้เสียงสามัญก็ได้เพราะเป็นคำจบ จะต้องอ่านเอื้อนลากเสียงยาว














ใบงาน

คำชี้แจง นักเรียนลากเส้นโยงคำสัมผัสในแผนภูมิโคลงสี่สุภาพให้ถูกต้อง แล้วฝึกแต่งโคลงสี่สุภาพคนละ ๒ บท ตามความชอบและจินตนาการของนักเรียนเอง

โคลงสี่สุภาพ
ผังภูมิ :
สร้อย
 
  

สร้อย
 

   

............................... .....................
........................................... .....................
............................... .....................
........................................... .....................

............................... ......................
........................................... ......................
............................... ...................... ........................................... ......................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น